ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่นปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่นและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น

ผังบริเวณพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน

เราเดินทางมาถึง ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา (Ayutthaya Historical Study Center) เวลาประมาณ 12.00 น. ดูภายนอกจะเงียบเหงา แต่ด้านในจัดแสดงข้อมูลอย่างดี ถ้าชื่นชอบพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น ก็จะชื่นชอบที่นี่เช่นเดียวกันค่ะ

วัดใหญ่ชัยมงคล

ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาในปี พ.ศ. 2530 และเป็นที่ระลึกในโอกาสมิตรภาพไทยกับญี่ปุ่นครบรอบ 600 ปี ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการไทยและญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดยมองว่าอยุธยานอกจากจะเป็นอดีตเมืองหลวงของสยามที่มีอายุยืนยาวถึง 417 ปี และได้วางรากฐานทางวัฒนธรรมให้กับประเทศไทยสมัยใหม่แล้วยังเคยเป็นศูนย์กลางของสังคมการค้าในอุษาคเนย์ในระยะเวลาหนึ่งด้วย

ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริรธร (องค์การมหาชน) เว็บไซต์ https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/267

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

ความตั้งใจของนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่นดังกล่าว ได้ปรับขยายจากข้อเสนอของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้มีการปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่นมาเป็นการจัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแทน และมีความตกลงร่วมกันระดับรัฐบาล โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทในเวลานั้น)

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

การจัดแสดงในศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดแสดงด้วยข้อมูลจากการวิจัย แบ่งเป็น 4 หัวข้อได้แก่ พระนครศรีอยุธยาในฐานะเมืองราชธานี กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า อยุธยาในฐานะศูนย์กลางอำนาจการเมืองและการปกครอง ชีวิตชาวบ้านไทยสมัยก่อน คำอธิบายในหัวข้อใหญ่มีเขียนไว้เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น และอีกหนึ่งหัวข้อคือความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ จัดแสดงที่ตำบลเกาะเรียน บริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก

เพดาน
เพนียดคล้องช้าง The Elephant Kraal

ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่ใช้เป็นพาหนะสงครามสมัยโบราณ เหมือนกับการใช้รถถังในการรบปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่ทำทั้งสงครามขยายราชอาณาเขต และการรบพุ่งป้องกันข้าศึกจากภายนอกตลอดเวลา ช้างจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ พระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งจะเสด็จไปคล้องช้างตามหัวเมืองอยู่เนืองๆ ในเขตราชธานีก็มีเพนียดขนาดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำลพบุรีทางเหนือของพระนคร เป็นสถานที่คล้องช้างป่าที่ต้อนมาจากหัวเมืองทางเหนือเป็นประจำ ซึ่งแต่ละครั้งพระมหากษัตริย์จะเสด็จไปเป็นประธาน (ข้อมูลจากป้ายในพิพิธภัณฑ์)

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

การจัดแสดงที่นี่ใช้แบบจำลองที่สวยงามอธิบายสถานที่และเรื่องราวในเหตุการณ์สำคัญ เช่น เรือจำลอง เป็นสำเภาจีน (สร้างตามรูปเขียนของญี่ปุ่น) เรือคาร์แรทของสเปน โปรตุเกส และเรือแกลลิออนของฮอลันดา แบบจำลองพระราชวังโบราณ วัดไชยวัฒนารามและเพนียดคล้องช้าง แบบจำลองภายในวิหารพระศรีสรรเพชญ์ วัดที่มีความสำคัญและเป็นที่ประกอบพิธีการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แบบจำลองของหมู่บ้าน แบบจำลองภายในตัวบ้านและวิถีชีวิตทางขนบธรรมเนียมประเพณีนอกจากนี้ยังมีส่วนของภาพเขียนสีน้ำมัน แผนผังเมืองอยุธยาในสายตาของพ่อค้าชาวดัทช์ คริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 แผนที่แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลกับบรรดาประเทศต่างๆในสมัยอยุธยา ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริรธร (องค์การมหาชน) เว็บไซต์ https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/267

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนารามเป็นสัญลักษณ์ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของพระนครศรีอยุธยาอย่างแท้จริง สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง อันเป็นเวลาที่ราชธานีมีความมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ แม้ว่าจะอยู่ในปลายสมัยอยุธยาก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการฟื้นฟูคติและประเพณีที่สร้างพระมหาสถูปให้เป็นเหมือนเขาพระสุเมรมุมาศ อันเป็นศูนย์กลางของโลกแวดล้อมไปด้วยเมรุรายที่ได้อิทธิพลมาจากพวกขอมครั้งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ (ข้อมูลจากป้ายในพิพิธภัณฑ์)

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
ข้างในกล่องเป็นภาพถ่ายเก่าๆ ของวัดสำคัญๆ 
พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
เรือจำลองเป็นสำเภาจีน (สร้างตามรูปเขียนของญี่ปุ่น)
เรือจำลองเป็นสำเภาจีน (สร้างตามรูปเขียนของญี่ปุ่น)
เรือจำลอง
ประวัติศาสตร์

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ตั้งอยู่ที่ถนนโรจนะ ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

เปิดบริการ วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น. โทรติดต่อเบอร์ 035245123

The photographs may not be copied, reproduced, redistributed, manipulated, projected, used or altered in any way without the prior express written permission of Juth.Net

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.