วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม)

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นหนึ่งในวัดสำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม หนึ่งในพระพุทธรูป ๓ องค์ ที่แสดงปาฏิหาริย์ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาจากทางเหนือตั้งแต่สมัยอยุธยา พระพุทธรูปที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองชาวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่องลือในเรื่องของปาฏิหาริย์ที่ช่วยให้หายจากโรค และช่วยคุ้มครองให้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

ประวัติวัดเพชรสมุทรวรวิหาร 

 ในสมัยอดีต ชาวบ้านเรียกวันนี้ว่าวัดศรีจำปา โดยสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา (ช่วงระหว่างพ.ศ. 2173–2199) ชาวบ้านละแวกนี้ได้อาศัยพื้นที่วัดในการหลบหนีจากภัยสงครามพม่า และภายหลังสงครามได้ช่วยบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งแล้วได้เรียกชื่อว่า “วัดบ้านแหลม” โดยในปัจจุบันวัดบ้านแหลมได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีวรวิหาร และได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” 

(Dekwat Channel (2565). สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=1q0cZHHMW3Q)

การเดินทางมาที่วัดหากมาจากกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางโดยถนนพระราม ๒ ขับจนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๖๓ และชิดซ้ายเข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ถึงแยกแรกให้ตรงเข้าตัวตลาด ถึงแยกที่ ๒ ให้เลี้ยวขวาและขับตรงไปข้ามทางรถไฟและขับต่ออีก ๑๐๐ เมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ ที่จอดรถสามารถจอดได้บริเวณภายในวัด (ที่จอดรถมีน้อย) และสามารถจอดบริเวณลานจอดรถตรงข้ามวัด (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

ทองแผ่นใหญ่มาก

ประวัติหลวงพ่อบ้านแหลม

ตามตำนานที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมีมาหลวงพ่อบ้านแหลม มีหลายคำเล่าขาน อาทิ เป็นหนึ่งในพระพุทธรูป ๓ องค์ปาฏิหาริย์จากทางเหนือ ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อหลบหนีข้าศึก พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ได้แสดงอภินิหารลอยล่องมาตามลำแม่น้ำ และบางครั้งก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้ผู้คนเห็นจนเป็นที่ โจษจันกันทั่วถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จนล่วงมาถึงตำบลๆ หนึ่ง ท่านได้ผุดให้คนเห็นเป็นอัศจรรย์ เหล่าศาสนิกชนในตำบลนั้น ต่างก็พร้อมใจกันทำพิธีอาราธนาท่านขึ้นสู่ฝั่ง ฝูงชนประมาณ ๓ แสนคน ช่วยกันฉุดลากชะลอองค์ท่าน ก็ไม่สามารถนำท่านขึ้นสู่ฝั่งได้ และท่านก็จมลงหายไปในแม่น้ำ ยังความเศร้าโศกเสียดายของประชาชนใน ตำบลนั้นเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาตำบลนั้นจึงถูกเรียกชื่อว่า “ตำบลสามแสน” แต่ต่อมาก็ถูกเรียกกลับกลายเป็นสามเสน “ตำบลสามเสน” 

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
วัดบ้านแหลม
วัดบ้านแหลม

หรือในอีกคำเล่าขาน เกี่ยวกับพระพุทธรูป ๕ องค์เป็นพี่น้องกันลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลางได้ย้ายไปประดิษฐานตามยังจังหวัดต่างๆ รวม ๕ จังหวัดได้แก่ องค์แรก หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร (ลอยมาตามแม่น้ำบางประกง) องค์ถัดมาหลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม (ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี) องค์ที่ ๓ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ (ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา) องค์ที่ ๔ หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม (ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง) และองค์สุดท้ายหลวงพ่อเขาตะเครา วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี (ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรี) 

พุทธลักษณะหลวงพ่อบ้านแหลม ประดิษฐสถานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม หล่อด้วยสำริดผสมด้วยทอง เงินและนาค รูปยืนบางอุ้มบาตร หล่อด้วยทองเหลืองแบบสุโขทัยตอนปลาย ภายในโปร่ง องค์พระสูง ๑๖๗ เซนติเมตร บริเวณฐานพระบาทมีดอกบัวรองรับฐานพระบาทอยู่บ้านแท่นฐานแข้งสิงห์ ซึ่งก่อสูงขึ้นประมาณ ๔๕ เซนติเมตร โดยบาตรเดิมนั้นได้สูญหายไปในทะเลก่อนที่ชาวประมงจะพบ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ได้เสด็จมานมัสการและได้ถวายบาตรแก้วสีเงิน แก่หลวงพ่อบ้านแหลมดังที่ปรากฎเห็นอยู่ทุกวันนี้

พ.ศ.๒๔๑๖ เกิดอหิวาตกโรคระบาด เมืองสมุทรสงครามที่ผู้คนล้มตายจำนวนมาก จนไม่มีใครอยากออกจากบ้าน ไม่มีใครกล้าเดินทางไปเผาศพ ด้วยความเชื่อกันว่าอหิวาตกโรคนั้นคือโรคผีห่า ในเวลานั้นพระสนิทสมนะคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลมได้ฝันว่า หลวงพ่อบ้านแหลมพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรในพระอุโบสถมาบอกคาถาป้องกันอหิวาตกโรคให้บทหนึ่ง โดยบอกให้ท่านเจ้าอาวาสได้จดคาถาที่พระหัตถ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้นำเทียนไปส่องที่พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างของหลวงพ่อบ้านแหลม เห็นที่พระหัตถ์ขวามีอักขระว่า “นะ มะ ระ อะ”  พระหัตถ์ซ้ายมีอักขระว่า “นะ เท วา อะ” คาถาศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่บนสองพระหัตถ์ของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ได้ถูกนำเป็นปลุกเสกเป็นน้ำพระพุทธมนต์ให้ชาวบ้านนำไปอาบและดื่มกินเพื่อรักษาอหิวาตกโรคที่กำลังระบาด โดยอิทธิความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อบ้านแหลมชาวบ้านจึงศรัทธาและยกย่องให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสมุทรสงครามที่คอยปกป้องคุ้มครองประชาชน

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.