วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ และตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แม่ และพี่นุ๊ก

แม่ และพี่นุ๊ก

หลังจากรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้ว พี่นุ๊กก็มารับเรา และแม่ พาไปวัดอุโมงค์ เรามาถึงเวลาประมาณ 13.00 น.

ร่มรื่น

ร่มรื่น

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์

ประวัติวัดอุโมงค์

ประมาณปี พ.ศ. 1839 พระยามังรายทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ปกครองสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง กษัตริย์ปกครองพะเยา มาสร้างเมืองเวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และตั้งชื่อเมืองว่า “นพบุรี ศรีนครพิงค์” ท่านมีความใฝ่ในศาสนาพุทธ จึงทรงทำนุบำรุง ส่งเสริมศาสนาให้รุ่งเรืองในล้านนา ในขณะนั้น ทางฝ่ายพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ส่งคนนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาอาศัยอยู่ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อที่พระสงฆ์ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุโขทัย เมื่อพระยามังรายทราบข่าวดังกล่าว จึงส่งคนไปนิมนต์พระลังกาจากพระเจ้ารามคำแหง 5 รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์นี้ โดยจำพรรษาที่วัดการโถม ต่อมาพระยามังรายสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม (ปัจจุบัน คือ วัดอุโมงค์) เมื่อสร้างเสร็จจึงอาราธนาพระมหากัสสปะเถระจำพรรษาที่วัดแห่งนี้

ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังรายสวรรคต ศาสนาพุทธขาดการทำนุบำรุง เพราะมัวแต่ทำศึกสงครามกันเองในเชื้อพระวงศ์ในการแย่งชิงราชสมบัติ จนถึงสมัยพระเจ้าผายู ศาสนาพุทธได้รับการฟื้นฟูจนถึงสมัยพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช (ประมาณ พ.ศ. 1910) ท่านมีความเลื่อมใสในพระมหาเถระจันทร์ พระเจ้ากือนาจึงสั่งให้คนบูรณะวัดเวฬุกัฏฐาราม เพื่ออาราธนาพระมหาเถระจันทร์จำพรรษาทีวัดแห่งนี้ และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” ตามชื่อของพระมหาเถระจันทร์ มีการซ่อมแซมเจดีย์โดยการพอกปูน สร้างอุโมงค์ไว้ทางทิศเหนือจากเจดีย์ ในอุโมงค์มีทางเดิน 4 ช่องซึ่งเชื่อมต่อกันได้

ราชวงศ์มังรายล่มสลาย เมื่อปี พ.ศ. 2106 เปลี่ยนเป็นพม่าปกครองล้านนา ทำให้วัดอุโมงค์ขาดการทำนุบำรุง ปล่อยให้ร้าง ปรักหักพังเรื่อยๆ ต่อมา เจ้าชื่น สิโรรส ได้จัดการแผ้วถางบูรณะวัดนี้ และสร้างกุฏิหลังใหม่เพิ่ม จากนั้นจึงนินต์พระภิกษุปัญญานันทะจากสวนโมกข์ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มาจำพรรษา และท่านได้เผยแพร่ศาสนาสืบไป

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์

พระเจ้ามังรายมหาราช

พระเจ้ามังรายมหาราช

หนังสือธรรมะ

หนังสือธรรมะ

เสาหินอโศกจำลอง

เสาหินอโศกจำลอง

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์

รูปปั้นหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ

รูปปั้นหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ

ช่องทางเข้าอุโมงค์

กล่องรับบริจาค

กล่องรับบริจาค

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

พระพุทธรูปภายในช่องอุโมงค์

พระพุทธรูปภายในช่องอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ไหว้พระ

ไหว้พระ

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

พระพุทธรูปภายในช่องอุโมงค์

พระพุทธรูปภายในช่องอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

บริจาคเงิน

บริจาคเงิน

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

ภายในอุโมงค์

พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

พระรอด จากอินเดีย

พระรอด จากอินเดีย

พระเจดีย์ 700 ปี

เจดีย์วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ เชียงใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ต่อเนื่องกับอุโมงค์ทางทิศเหนือ ซึ่งอยู่ภายในวัดอุโมงค์เจดีย์วัดอุโมงค์ เป็นเจดีย์ทรงระฆังระยะแรกของศิลปะล้านนาที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ปรับปรุงมาจากเจดีย์ทรงระฆังแบบหนึ่งในศิลปะพุกาม ครั้นล่วงมาถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องกับต้นพุทธศตวรรษถัดมา เจดีย์ทรงนี้คลี่คลายไปโดยมีรูปทรงที่สูงโปร่ง และในช่วงเวลาของพุทธศตวรรษที่ 21 รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังจึงมีการคลี่คลายปรับเปลี่ยนค่อนข้างรวดเร็ว เพราะได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ในศิลปะสุโขทัย อีกทั้งเป็นเจดีย์องค์สำคัญยุคต้นๆ ของพัฒนาการเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนา งานก่อสร้างเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระเจ้ามังรายคงสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ต่อมาได้รับการบูรณะในรัชกาลของพระเมืองแก้ว มีการปั้นปูนประดับลวดลายที่ส่วนฐานใต้ทรงระฆังมีการปรับเปลี่ยนที่ทรงกรวยซึ่งเป็นส่วนบนของเจดีย์ โดยประดับรูปกลีบบัวทรงยาวประกอบกันเป็นบัวคว่ำและบัวหงาย (ปัทมบาท) ตามแบบอย่างของเจดีย์มอญพม่า ส่วนองค์เจดีย์ในปัจจุบัน ยังเหลือแบบแผนที่น่าจะเป็นเค้าเดิม คือระเบียบของฐานในผังกลม 3 ฐานซ้อนลดหลั่น เป็นชุดฐานรองรับทรงระฆังใหญ่ ต่อขึ้นไปคือบัลลังก์สี่เหลี่ยม ส่วนยอดที่ทรงกรวยประกอบด้วยส่วนสำคัญที่ทางภาคกลางเรียกว่า ปล้องไฉน และปลี ที่ท้องไม้ของบานกลมแต่ละฐานประดับด้วยแถวช่องสี่เหลี่ยมไว้โดยรอบงานประดับเช่นนี้รวมทั้งขนาดที่ใหญ่ของทรงระฆัง เกี่ยวข้องกับแบบแผนของเจดีย์แบบหนึ่งของพุกาม สร้างเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่18 เช่นเจดีย์ในบริเวณวัดถิทสวดี (Thitsavadi Temple) ในหมู่บ้านปวาสอ (Pwasaw) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง

บันไดขึ้นไปเจดีย์

บันไดขึ้นไปเจดีย์

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์

พระเจดีย์ 700 ปี

พระเจดีย์ 700 ปี

พระเจดีย์ 700 ปี

พระเจดีย์ 700 ปี

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์

บริเวณให้อาหารปลา

บริเวณให้อาหารปลา

ให้อาหารปลา

ให้อาหารปลา

ให้อาหารปลา

ให้อาหารปลา

น้องหมา

น้องหมา

ต้นสัก

ต้นสัก

ร้านหนังสือ

ร้านหนังสือ

วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม
http://www.watumong.org

The photographs may not be copied, reproduced, redistributed, manipulated, projected, used or altered in any way without the prior express written permission of Juth.Net

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.