พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปี 2559

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง

Tuk Tuk

Tuk Tuk

เรานั่ง MRT จากสถานีอโศก มาถึงหัวลำโพง แล้วเรียกรถตุ๊กตุ๊กไปส่งให้ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้มากที่สุด (พี่ตุ๊กตุ๊กคันนี้ซิ่งมาก ยังกับนั่งรถไฟเหาะ หัวใจจะวาย) รถตุ๊กตุ๊กมาส่งที่แถวกระทรวงกลาโหมตอน 13.20 น. ถ่ายรูปหน้ากระทรวงไปสักพัก ก็เดินต่อ และฝนก็ตกลงมาแรงมาก เราเดินฝ่าฝนมาถึงพิพิธภัณฑ์ประมาณ 14.11 น.

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรค์

พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 สำหรับประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและภาพเทพชุมนุม

พระที่นั่งพุทไธสวรรค์

พระที่นั่งพุทไธสวรรค์

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์ ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้มาจากลังกาแล้วนำขึ้นไปถวายพระเจ้ากรุงสุโขทัย จากนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานหลายเมือง เช่น กรุงศรีอยุธยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย สำริดกะไหล่ทอง สูง 166 ซม.

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรัณฑ์

สมัยรัตนโกสินสินทร์ พุทธศตรวรรษที่ 24-25

ประดิษฐานอยู่ในช่องเสียบก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในกรัณฑ์ (ผอบมีเชิง มีฝาครอบทรงยอด) ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี ประดิษฐานไว้ในองค์พระพุทธรูป แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นพระปฏิมาสำคัญค่าควรเมือง และฐานันดรศักดิ์ของผู้ถวายเครื่องทองคำลงยาราชาวดีนี้ คือ พระมหากษัตริย์

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรัณฑ์

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรัณฑ์

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับ

สมัยสุโขทัย พุทธศตรวรรษที่ 19-20

พบขณะขุดแต่งบูรณะโบราณสถานบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2544 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในตลับทองคำใบเล็ก ซ้อนอยู่ด้านในตลับชั้นกลางทำด้วยทองคำ และตลับชั้นนอกทำด้วยสำริด จุดที่พบตลับทั้งสามใบเป็นช่องกรุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในฐานของโบราณสถาน ซึ่งเป็นฐานเจดีย์ทรงระฆังที่ส่วนบนพังทลายลงมาเหลือเพียงส่วนฐาน

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับ

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับ

๑ พระบรมสารีริกธาตุ และพระสถูปจำลอง

สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20

พบในกรุพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

๒ พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในสถูปจำลองพร้อมเครื่องสูง

สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21

พบขณะปฏิสังขรณ์เจดีย์ศรีสุริโยทัย พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยกองบัญชาการทหารสูงสุดร่วมกับกรมศิลปากร

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ศรีสุริโยทัยขึ้นบริเวณสถานที่พระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระอัครมเหสี เมื่อ พ.ศ. 2091

พระบรมสารีริกธาตุและพระสถูปจำลอง

พระบรมสารีริกธาตุและพระสถูปจำลอง

พระบรมสารีริกธาตุ

สมัยล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22

1 พบที่วัดดอกคำ ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด เชียงใหม่
2 พบที่วัดเจดีย์สูง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด เชียงใหม่
3 พบที่วัดศรีโขง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด เชียงใหม่
4 พบที่โบราณสถานเจดีย์กุด ตำบลแม่เหียะ เชียงใหม่
5 พบที่โบราณสถานเวียงกุมกาม อำเภอสารภี เชียงใหม่

1-3 สำรวจเก็บกู้ได้จากวัดร้าง ก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพล ระหว่าง พ.ศ. 2502-2504

fgfg

gfg

ภาพเขียนพุทธประวัติ

ภาพเขียนพุทธประวัติ ตอนเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

ภาพเขียนพุทธประวัติ

ภาพเขียนพุทธประวัติ

โรงราชรถ

ประวัติโรงราชรถ

จากหลักฐานหนังสือ “เรื่องกรุงเก่า” กล่าวว่า มีโรงใส่พระมหาพิชัยราชรถ อยู่ริมกำแพงคั่นท้องสนามหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ภายนอกประตูพระราชวัง ชั้นกลาง โรง 1 ซึ่งได้สูญไปกับเพลิงในสงครามครั้งเสียกรุง เมื่อ พ.ศ. 2310

ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างพระพิชัยราชรถ ใช้เป็นราชูปโภคสืบต่อมา 7 รถ จากหมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ. 2386 กล่าวว่ามีโรงเก่าอยู่ที่ริมตึกดิน ทางทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง และโปรดให้เกณฑ์เลกมาชักลากพระมหาพิชัยราชรถไปไว้ที่โรงรถทำใหม่ ซึ่งอยู่แห่งใดไม่เป็นที่ปรากฏ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายโรง พระมหาพิชัยราชรถ มาไว้ที่พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ตั้งเป็นโรงเก็บราชรถสำคัญ 2 โรง โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมพระตำรวจ

ถึงสมัยรัชการที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังบวรสถานมงคล ให้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) อยู่ในการกำกับดูแลของราชบัณฑิตยสภา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา จึงให้สร้างโรงราชรถขึ้นใหม่ ลักษณะเป็นโรงหลังคาทรงจั่ว 2 หลัง เชื่อมต่อกันด้วย มุขขวาง ภายในเปิดโล่งถึงกันโดยตลอด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2472

พ.ศ. 2536 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์โรงราชรถขึ้นใหม่โดยต่อเติมมุขหน้า ใช้เป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงราชรถสำคัญของแผ่นดิน รวมทั้งเครื่องประกอบในการพระราชพิธี พระบรมศพและพระศพในปัจจุบัน

โรงราชรถ

โรงราชรถ

โรงราชรถ

โรงราชรถ

โรงราชรถ

โรงราชรถ

โรงราชรถ

โรงราชรถ

ภายในโรงราชรถ วัตถุจัดแสดงที่สำคัญคือ

พระมหาพิชัยราชรถ

มีนามหมายถึง ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ เป็นมงคลนาม ตามคติการสร้างรถศึกของอินเดียโบราณ ใช้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อปี พ.ศ. 2339 ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกขนาดใหญ่ มีขนาดกว้าง 4.80 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.20 เมตร หนัก 13.70 ตัน ตกแต่งด้วยชั้นเกรินประดับกระหนกเศียรนาค กระหนกท้ายเกริน และรูปเทพพนมโดยรอบใช้อัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมชนก พระราชชนนี พระอัครมเหสี และพระมหาอุปราช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้เป็นพิเศษ

ครั้งสุดท้ายใช้ในการอัญเชิญพระโกศสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ออกพระเมรุท้องสนามหลวง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

พระมหาพิชัยราชรถ

ภายในโรงราชรถ

ภายในโรงราชรถ

เวชยันตราชรถ

มีนามหมายถึงรถของพระอินทร์ ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกพิมานขนาดใหญ่ กว้าง 4.85 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.70 เมตร หนัก 12.25 ตัน จำหลักตกแต่งลวดลายวิจิตร สร้างขึ้นพร้อมกับพระมหาพิชัยราชรถ เพื่อใช้ในการถวยพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ในปี พ.ศ. 2339 โดยพระมหาพิชัยราชรถ ใช้เป็นราชรถทรงพระบรมอัฐิ และเวชยันตราชรถใช้เป็นรถพระที่นั่งรอง จากนั้นใช้ในการพระศพ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าสืบมาถึงรัชกาลที่ 6

ต่อมาพระมหาพิชัยสำหรับทรงพระบรมศพชำรุด จึงใช้เวชยันตราชรถเป็นราชรถทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2468 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2493 ครั้งสุดท้ายใช้ในการอันเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528

เวชยันตราชรถ

เวชยันตราชรถ

ราชรถน้อย

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ มีสัณฐาน และรูปทรงเช่นเดียวกัน แต่มีขนาดย่อมกว่า มีน้ำหนักเพียง 3.85 ตัน และ 3.65 ตัน เท่านั้น

คือมีฐานสูงซ้อนชั้น ประกอบด้วยชั้นเกริน ตกแต่งด้วยกระหนกนาค กระหนกท้ายเกริน และตัวภาพรูปเทพพนมโดยรอบ ส่วนบนยอดเป็นบุษบกพิมาน ส่วนล่างเป็นโครงสร้าง รับน้ำหนักและบังคับรถ จำหลักด้วยไม้ปิดทองประดับกระจกอย่างประณีต ใช้เป็น รถพระ รถโปรย และรถโยง นำหน้ารถทรงพระบรมโกศ ต่อมาในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ยกเลิกประเพณี โยง และโปรย ในการพระราชพิธีพระบรมศพ ปัจจุบันจึงคงใช้ราชรถน้อยเป็นรถพระสงฆ์อ่านพระอภิธรรมนำ

ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

ราชรถน้อย

เกรินบันไดนาค

คืออุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศขึ้นสู่ราชรถโดยการหมุนกว้านเลื่อนแท่นที่วางโกศขึ้นไปตามรางเลื่อนไม้จำหลักรูปนาค จึงเรียกเกรินบันไดนาค แท่นที่วางพระโกศ เป็นแท่นสี่เหลี่ยม ท้ายเกรินมีลักษณะคล้ายท้ายสำเภาสำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นนั่งประคอง พระโกศพระบรมศพประดิษฐ์ขึ้นโดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ใช้ครั้งแรกในงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2355

เกรินบันไดนาค

เกรินบันไดนาค

ยานมาศสามลำคาน

เป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกยานมาศสามลำคาน ใช้คนหาม 2 ผลัด ผลัดละ 60 คน ใช้สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพ จากพระบรมมหาราชวังขึ้นสู่ราชรถ และใช้ทรงพระโกศพระบรมศพในการเวียนพระเมรุ

ยานมาศสามลำคาน

ยานมาศสามลำคาน

พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

พระโกศจันทน์ใช้เพื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ณ พระเมรุมาศในปริมณฑลท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2528 มีลักษณะเป็นโกศแปดเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.86 เมตร สูง 1.61 เมตร ประกอบด้วยโครงลวดตาข่ายประดับลายฉลุเป็นลายซ้อนไม้ ทำจากไม้จันทน์ทั้งองค์ สามารถถอดได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนฐาน ส่วนองค์ และส่วนยอด สำหรับทรงพระบรมศพถวายพระเพลิงที่พระเมรุมาศ

พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

พระโกศ

พระโกศที่ทรงพระบรมศพ และพระศพในลักษณะศพนั่ง มี 2 ชั้น ในสมัยอยุธยาเรียกพระโกศชั้นนอกว่า “พระลอง” และชั้นในเรียกว่า “พระโกศ” สมัยรัตนโกสินทร์เรียกกลับกัน คือ ชั้นนอกเรียก “พระโกศ” ชั้นในเรียก “พระลอง” หรือ “พระลองใน” ชั้นในเป็นโลหะทรงกระบอกไม่มีลวดลาย มักปิดทองทึบ ชั้นนอกตกแต่งลวดลายสวยงาม สำหรับประกอบหุ้มชั้นในให้มิดชิด ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้จำหลักลวดลาย หรือบุทองคำแท้ก็มี ลงรักปิดทองแกมแก้วก็มี เป็นลายกระหนกฝังมุกก็มี ส่วนผ่าแหลมสูงทำยอดทรงมงกุฏ ทรงยอดมณฑป หรือยอดปราสาท บางครั้งมีเครื่องตกแต่งเพิ่มเติมคือ พุ่มข้าวบิณฑ์ และดอกไม้ไหวประดับที่ยอด เฟื่องอุบะประดับรอบฝา และดอกไม้เพชรหรือดอกไม้เอวประดับที่เอวพระโกศ ฐานพระโกศที่รอบรับองค์พระโกศทำคล้ายฐานสิงห์หรือฐานบัว

พระโกศ

พระโกศ

สัตว์หิมพานต์

การนำรูปสัตว์หิมพานต์มาตั้งประดับพระเมรุเป็นธรรมเนียมที่สืบมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนแห่งจักรวาล และเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามความเชื่อด้านคติจักรวาลของไทย ด้วยเชิงเขาพระสุเมรุย่อมประกอบด้วยสัตว์นานาชนิด ทั้งทวิบาท และจตุบาท รูปสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ ตามธรรมเนียมเดิมผูกเป็นหุ่น หลังเทินบุษบกใ่ส่ผ้าไตร มีล้อลาก สำหรับเชิญไปในกระบวนพยุหยาตราอันเชิญพระโกศพระบรมศพและพระศพ เมื่อถึงยังมณฑลจึงใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งพระเมรุ

สัตว์หิมพานต์ในที่นี้ ใช้ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสัตว์หิมพานต์ ประเภททวิบาท คือ มี 2 เท้า นำมาประดับบันไดทางขึ้นพระเมรุ 3 ด้าน เป็นทวารบาลพิทักษ์รักษาพระเมรุ ได้แก่ กินรี ลักษณะครึ่งคนครึ่งนก ประดับบันไดทางทิศเหนือ อัปสรสีหะ ลักษณะครึ่งนางฟ้าครึ่งสิงห์ ประดับอยู่ด้านทิศตะวันตก นกทัณฑิมา มีมือถือกระบอง ประดับด้านทิศใต้

สัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์

สัตว์หิมพานต์

ส่วนอื่นๆ ของทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ท้องพระโรงใช้เป็นที่เสด็จออก ปัจจุบันใช้เป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษหมุนเวียนตลอดปี

พระพุทธรูปบุทอง เครื่องทองต่างๆ

พระพุทธรูปบุทอง เครื่องทองต่างๆ

เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก

เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก

เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เครื่องแรกของโลก คิดค้นโดย นายเอ็ดวิน ฮันเตอร์ ยี่ห้อ สมิทพรีเมียร์ ในปี พ.ศ. 2434

เครื่องราชยาน

เครื่องราชยาน

จัดแสดงเครื่องราชยาน คานหาม สัปคับ เสลี่ยงกง เสลี่ยงหิ้วและสีวิกา

พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ

พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ

juthnet_nationalmuseumbangkok090296 juthnet_nationalmuseumbangkok090302 juthnet_nationalmuseumbangkok090304

ประเทศไทยเต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ประณีต วิจิตร มาที่นี่แล้วรู้สึกภูมิใจในบรรพบุรุษของเรา ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่ทรงคุณค่ามากมาย ให้คนรุ่นหลังได้เก็บไว้ ยังมีอีกมากมายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ลองมาชมด้วยตัวคุณเองนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจากแผ่นพับของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เวลาทำการ 09.00-16.00 น.
ปิดวันจันทร์ วันอังคาร
Facebook: www.facebook.com/nationalmuseumbangkok

The photographs may not be copied, reproduced, redistributed, manipulated, projected, used or altered in any way without the prior express written permission of Juth.Net

Comments

comments

1 comment

  1. Pingback: ส้มตำคอนแวนต์ HAI Somtum Convent - Juth.Net

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.